วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้ำประปา

น้ำประปา

น้ำประปานับเป็นน้ำดื่มที่คนส่วนใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในเมืองใช้ดื่มกิน สารเคมีที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตน้ำประปา มีมากกว่า 30 ชนิด จำนวนสารเคมีที่ใช้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของแหล่งน้ำดิบ ที่นำมาใช้ผลิตน้ำประปา ถ้าแหล่งน้ำดิบมีคุณภาพต่ำก็ต้องใช้สารเคมีหลายชนิด แต่อย่างน้อยที่สุดสารเคมีที่การผลิตน้ำประปาจะขาดไม่ได้คือ คลอรีน ซึ่งใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ น้ำบาดาล และน้ำผิวดิน

ภาพแสดงระบบการผลิตน้ำประปาผิวดิน และระบบประปาบาดาล

ภาพแสดงระบบการผลิตน้ำประปาผิวดิน และระบบประปาบาดาล
สารเคมีที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาจากน้ำบาดาลจะมีไม่มากนัก เพราะน้ำบาดาลส่วนใหญ่ที่ใช้ผลิตน้ำประปาจะมีคุณภาพดี ใส่คลอรีนอย่างเดียวก็ใช้ได้แล้ว น้ำบาดาลบางแห่ง ที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ก็จำเป็นต้องใส่สารเคมีเพิ่มเข้าไปอีก เช่น น้ำบาดาลที่เป็นน้ำกระด้าง ก็จำเป็นต้องใส่ปูนขาวและโซเดียมคาร์บอเนต หรือใช้สารเรซินช่วยแก้ความกระด้าง 

ส่วนแหล่งน้ำที่เป็นน้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร อ่างเก็บน้ำ บึง สระ ก็จะต้องใช้สารเคมีมากขึ้น ตามความสกปรกของแหล่งน้ำนั้น สารเคมีที่ต้องนำมาใช้กับน้ำผิวดินแทบทุกชนิด คือ

สารส้ม ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับการตกตะกอน ทำให้น้ำใสขึ้น และในกรณีที่ตะกอนในน้ำเป็นตะกอนที่มีน้ำหนักเบา ก็อาจจะมีการใส่สารสังเคราะห์ที่เรียกว่า Polymmer เพื่อช่วยให้การตกตะกอนง่ายขึ้น รวมทั้งการใส่คลอรีนเพื่อทำลายสารอินทรีย์หรือตะไคร่ในน้ำ จุนสีหรือ Copper Sulfate ก็เป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำลายตะไคร่น้ำในวงการประปา ในกรณีที่น้ำมีความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม ก็จะมีการใส่ปูนขาวเข้าไปช่วย แหล่งน้ำผิวดินบางแห่งมีความสกปรกมาก มีปริมาณแมงกานีสสูง ก็อาจจะต้องใส่ด่างทับทิมเข้าไปช่วยแก้ไข น้ำที่มีกลิ่นมีสีก็จะใช้ถ่านกัมมันต์เข้าไปฟอกสีดูดกลิ่นออก เมื่อน้ำผ่านการตกตะกอนและกรองจนใสดีแล้ว ก็จะต้องใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่จะจ่ายออกไปให้ผู้ใช้น้ำต่อไป


คุณภาพของแหล่งน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำประปา นับวันจะยิ่งมีคุณภาพต่ำลงทุกที เพราะมลภาวะทางน้ำที่ยากต่อการควบคุม ได้เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา ค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาจะถูกเพิ่มขึ้นจากการใช้สารเคมีที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากการลงทุนในการสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เพื่อพยายามทำให้น้ำประปาเป็นน้ำที่มีคุณภาพดื่มได้ ทั้งที่ปริมาณของน้ำประปาที่ถูกใช้เป็นน้ำดื่มหรือน้ำบริโภคมีเพียง 1%เท่านั้น ส่วนน้ำประปาอีก 99% ถูกใช้เป็นน้ำอุปโภค ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพดีเท่าน้ำสำหรับการบริโภค การทำน้ำประปาให้เป็นน้ำที่มีคุณภาพสำหรับการบริโภค จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการทำน้ำประปาให้มีคุณภาพเพียงแค่ให้เป็นน้ำอุปโภค หลายเท่า และการใช้น้ำที่บริโภคได้ ไปใช้เพื่อการอุปโภค ก็เป็นการสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจอย่างมาก ดังนั้นเมื่อมลภาวะในแหล่งน้ำดิบมีมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง ที่ทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำประปาที่มีคุณภาพดีพอสำหรับการบริโภค หรือผลิตได้ในราคาค่าน้ำที่ผู้ใช้น้ำประปาจะยอมรับได้ การผลิตน้ำประปาในตอนนั้น ก็คงจะทำให้มีคุณภาพเพียงเป็นน้ำสำหรับอุปโภคเท่านั้น ส่วนน้ำบริโภคหากไม่มีน้ำฝน ก็คงต้องพึ่งน้ำดื่มบรรจุขวดโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง

หากการประปาสามารถรองน้ำฝนมาผลิตน้ำประปาได้ ก็จะไม่ต้องใช้สารเคมีมากและจะได้น้ำประปาที่สะอาดที่สุด แต่ก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะการผลิตน้ำประปาต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ต่อให้สร้างหลังคาคลุมหมดทั้งเมือง ก็รองน้ำฝนได้ไม่พอผลิตน้ำประปา การประปาจึงจำเป็นต้องใช้แหล่งน้ำ ที่สามารถให้น้ำได้ในปริมาณมากๆ ติดต่อกันตลอดทั้งปี เช่น น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง อ่างเก็บน้ำ หรือน้ำบาดาล จึงทำให้การใช้สารเคมีเป็นจำนวนมากในการผลิตน้ำประปา เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ถึงแม้จะมีการยืนยันว่า น้ำประปาปลอดภัยดื่มได้จากก๊อก แต่ก็คงจะมีผู้ที่รองน้ำประปาจากก๊อกมาดื่มโดยตรง ไม่มากนัก นอกจากเป็นกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจริงๆ เพราะคนส่วนใหญ่จะดื่มน้ำประปา โดยการนำไปต้มก่อน หรือไม่เช่นนั้น ก็มีการใช้เครื่องกรองน้ำประปา และคงจะมีจำนวนไม่น้อย ที่กรองด้วยเครื่องกรองน้ำประปาแล้ว ยังนำไปต้มอีก จึงจะนำมาดื่ม

ขั้นตอนการผลิตน้ำประปา

        น้ำประปา เป็นน้ำที่ผ่านขบวนการต่างๆ มากมาย กว่าจะมาเป็นน้ำประปาให้แก่ประชาชน ได้นั้น มีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอน และต้องมีการลงทุนสูงมาก
ภาพขั้นตอนการผลิตน้ำประปา
น้ำ 1ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร หรือ = 50 ปี๊บ


Credit. การประปาส่วนภูมิภาค http://www.pwa.co.th/service/treatment.html
            ประสงค์ นิ้มวัฒนา วศ.บ.(จุฬาฯ) http://rain.pantown.com/